

นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักพิมพ์ ใช้แนวทางเดียวกับนโยบายของมหาวิทยาลัยคือ โดยคำนึงถึงบริบทของมหาวิทยาลัยและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ดังนี้
1.พัฒนาระบบและกลไกในการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินการภายในที่มีอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการักษามาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่วางระบบ กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สาขาวิชา สำนัก สถาบัน กอง และศูนย์ต่าง ๆ จัดตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานด้านคุณภาพ ขึ้นภายในหน่วยงาน เพื่อกระตุ้นให้มีการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างระบบประกันคุณภาพ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่มีส่วนในการสร้างระบบประกันคุณภาพ ให้เกิดขึ้น
5. ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย

รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2552
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2553
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2554
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2555
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2556
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2557
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2558
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2559
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2560
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2561
รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2562
