การประกันคุณภาพการศึกษาสำนักพิมพ์

นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักพิมพ์ ใช้แนวทางเดียวกับนโยบายของมหาวิทยาลัยคือ โดยคำนึงถึงบริบทของมหาวิทยาลัยและความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ดังนี้

  1. พัฒนาระบบและกลไกในการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินการภายในที่มีอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการักษามาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่วางระบบ กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สาขาวิชา สำนัก สถาบัน กอง และศูนย์ต่าง ๆ จัดตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานด้านคุณภาพ ขึ้นภายในหน่วยงาน เพื่อกระตุ้นให้มีการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  4. ส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างระบบประกันคุณภาพ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่มีส่วนในการสร้างระบบประกันคุณภาพ ให้เกิดขึ้น
  5. ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย

แผนปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา

กิจกรรมระยะเวลาผู้รับผิดชอบ
ทบทวนองค์ประกอบตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมกราคม - มีนาคมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
จัดทำ/ปรับปรุงคู่มือประกันคุณภาพมีนาคม - เมษายนคณะกรรมการ/คณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา
จัดทำรายงานการประเมินตนเองสิงหาคม - กันยายนคณะกรรมการ/คณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา
เตรียมความพร้อมรับประเมินคุณภาพการศึกษาภายในกันยายน - ตุลาคมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตุลาคมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติการประจำปี
/แผนการดำเนินงานในปีต่อไป
พฤศจิกายน - ธันวาคมหัวหน้าหน่วย/ฝ่าย

คณะกรรมการ/คณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา

รายชื่อตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล
(ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์)
ประธานคณะกรรมการ
นางรัตนา ช้างเยาว์
(รองผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย)
กรรมการ
นายปิยทัสน์ สังขมาลัย
(หัวหน้าฝ่ายจัดพิมพ์)
กรรมการ
นางสาวภูมิอนุช อินทรกำแหง
(หัวหน้าฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์)
กรรมการ
นางสาวจตุพร ทองอุ่น
(หัวหน้าฝ่ายวิชาการ)
กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรานุช บุดดีจีนผู้ทรงคุณวุฒิภายใน
และกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณ จรรยาวุฒิวรรณ์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน
และกรรมการ
นางอุฬารรัฐ ปานรสทิพย์
(เลขานุการสำนักพิมพ์)
กรรมการ
และเลขานุการ
รายชื่อตำแหน่ง
นางอุฬารรัฐ ปานรสทิพย์
(เลขานุการสำนักพิมพ์)
ประธานคณะทำงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล
(ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์)
ที่ปรึกษา
นางสาวจตุพร ทองอุ่น
(หัวหน้าฝ่ายวิชาการ)
ผู้ทำงาน
นายปิยทัสน์ สังขมาลัย
(หัวหน้าฝ่ายจัดพิมพ์)
ผู้ทำงาน
นางรัตนา ช้างเยาว์
(รองผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และจัดจำหน่าย)
ผู้ทำงาน
นางสาวภูมิอนุช อินทรกำแหง
(หัวหน้าฝ่ายจัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์)
ผู้ทำงาน
นางกัลยรัตน์ คงวัฒนากุล
(หัวหน้าหน่วยวางแผนและประสานงานการผลิต)
ผู้ทำงาน
นายกำจัด เดชเมืองปัก
(หัวหน้าหน่วยผลิต)
ผู้ทำงาน
นางสาวพรพิมล นุ่นปาน
(หัวหน้าหน่วยเลือกสรร)
ผู้ทำงาน
นางสาวจันทนา เพชรคอน
(หัวหน้าหน่วยเตรียมต้นฉบับ)
ผู้ทำงาน
นางสุดารัตน์ บัวศรี
(หัวหน้าหน่วยบรรณาธิการ)
ผู้ทำงาน
นางวิภาดา อยู่ผ่อง
(หัวหน้าหน่วยฟิล์มและวางรูปแบบ)
ผู้ทำงาน
นางวรรณี จดจำ
(หัวหน้าหน่วยเผยแพร่)
ผู้ทำงาน
นางสาวมณีรัตน์ ยิ่งยวดผู้ทำงานและเลขานุการ

ศัพท์ประกันคุณภาพ

คุณภาพการศึกษา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปณิธานและภารกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการของประเทศ อุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและภารกิจ เฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน
การมีระบบและกลไกในการควบคุมตรวจสอบ และประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้มั่นใจว่าสถาบันนั้น ๆ สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และ เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่าง ๆ เป็นกลไกในการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ เพื่อกำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด
กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมีระบบและกลไกกำกับการควบคุมคุณภาพและได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบและกลไกดังกล่าว
กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของสถาบันว่าส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้
ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาดัชนีบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
ผลการดำเนินตามภารกิจหลัก ประกอบด้วยการผลิตบัณฑิต การวิจัยการบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภารกิจหลักอื่น ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา